วันอังคารที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ความหมายและการแบ่งยุคของอารยธรรมมนุษย์

อารยธรรมต่างๆ

ความหมายของอารยธรรม

        
            คำว่า "อารยธรรม" เป็นคำที่มีความหมายตรงกับคำในภาษาอังกฤษว่า "Civlization" มีรากศัพท์มาจากภาษาละติน คือ Civitis หมายถึง City หรือ นคร  โดยเหตุผลที่ใช้คำนี้เนื่องจากแหล่งอารยธรรมใหญ่ๆในโลก  ส่วนใหญ่มักจะเกิดขึ้นในนครใหญ่  คำว่า "อารยธรรม"  เป็นคำที่มีความหมายหลายประการตามความเข้าใจและการตีความของแต่ละคน  แต่โดยทั่วไป  มักจะให้ความหมายของ "อารยธรรม" ว่าหมายถึง  ความเจริญงอกงามในทุกๆด้าน  ของสังคมทุกๆสังคม  ไม่เฉพาะเจาะจงว่าต้องเป็นสังคมใดสังคมหนึ่ง  นอกจากนี้  อารยธรรมยังมีความหมายที่หลากหลายจากแง่มุมต่างๆ  ที่น่าสนใจอีกหลายความหมายที่สำคัญ  คือ
           
            พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542      ได้ให้ความหมายของอารยธรรม ไว้ว่า  ความสงบสุขของสังคมที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานแห่งศีลธรรมและกฏหมาย  ความเจริญเนื่องด้วยองค์การของสังคม  เช่น  การเมือง กฏหมาย  เศษฐกิจ  โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุตสาหกรรม  ความเจริญด้วยขนบธรรมเนียมอันดี  ขณะที่ ม.ร.ว.ศึกฤทธิ์  ปราโมช  ได้  ให้ความหมายของอารยธรรม ว่า  ความเจริญในทางวัตถุและทางจิตใจของมนุษย์  เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นภายหลังวัฒนธรรมขั้นพื้นฐาน  อารยธรรมที่เป็นความเจริญทางด้านวัตถุและจิตใจนี้เกิดขึ้นในรัฐหรือประเทศ  มีสถาบันการปกครอง  สถาบันศาสนา และสถาบันอื่นๆ  ในกรณีมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ยังไม่มีสถาบันเหล่านี้อย่างเป็นระบบ  จึงไม่มีอารยธรรม 
           
             ส่วนนักวิชาการต่างชาติได้ให้ความหมายของคำว่า "อารยธรรม"  ไว้อย่างหลากหลาย  เช่น เอ็ดเวอร์ดแมค  คัดเบอร์นส์  (Edward Mc. Cudberns)  ได้อธิบายความหมายไว้ว่า  เป็นวัฒนธรรมขั้นสูง  คือ   วัฒนธรรมที่จะเรียกว่าเป็นอารยธรรมได้ก็ต่อเมื่อวัฒนธรรมนั้นได้มีการพัฒนาให้เสริญถึงขั้นสูงสุดแล้ว  หรือกล่าวง่ายๆคือ  สังคมนั้นต้องมีการใช้อักษรบันทึกเรื่องราวต่างๆแล้ว  นอกจากนี้  วัฒนธรรมในด้านอื่นๆของสังคมก็ต้องได้รับการปรับปรุงให้สมบูรณ์และมีประสิทธิภาพอีกด้วย  เช่น  ศิลปวิทยาการ  การเมือง  การปกครอง  สถาบันทางสังคม  และทางเศรษฐกิจ  เป็นต้น  ส่วน อาร์โนลด์ เจ ทอยน์บี (Arnold J. Taynbee)  ได้อธิบายไว้ว่า  อารยธรรม คือวัฬนธรรมดั้งเดิมที่ได้รับการพัฒนาขึ้นมาเรื่อยๆ  สังคมดั้งเดิมนั้นมีอายุสั้นกว่าวัฒนธรรม  และมักเกิดขึ้นในบริเวณจำกัด  และมีส่วนเกี่ยวข้องกับมนุษย์เป็นจำนวนน้อยกว่าอารยธรรม  แต่ก็มีความก้าวหน้าทางศิลปะและวิทยาศาสตร์  ส่วนสถาบันการเมือง  เศรษฐกิจและสังคมก็ได้รับการพัฒนามาอย่างดีพอที่จะแก้ไขปัญหาต่างๆ  ที่เกิดขึ้นในสังคมนั้นได้


            ดังนั้น อารยธรรม จึงหมายถึง  ความเจริญในด้านต่างๆ ที่ได้รับการพัฒนาขึ้นเรื่อยๆ และเป็นความเจริญที่สูงกว่าวัฒนธรรมขั้นพื้นฐาน

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ขับเคลื่อนโดย Blogger.