วันเสาร์ที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

อารยธรรมยุคทองของอินเดีย

ราชวงศ์คุปตะ (Gupta Dynacty) (ค.ศ.320-ค.ศ.535)
      ราชวงศ์เริ่มแรกของอารยธรรมอินเดียสมัยกลางคือ  ราชวงศ์คุปตะ (Gupta Dynacty) ราชวงศ์นี้เป็นราชวงศ์ของชาวอินเดียที่พยายามขึ้นมามีอำนาจแทนราชวงศ์กุษาณะ  ทั้งนี้เนื่องจากพระเจ้าจันทรคุปต์ที่ 1 แห่งแคว้นมคธได้สถาปนาพระองค์เป็นผู้ครอบครองบริเวณลุ่มแม่น้ำคงคาและสามารถขับไล่พวกกุษาณะออกไป  ทรงขยายอาณาจักรออกไปจากแคว้นอัสสัมทางตะวันออกจนถึงที่ราบปัญจาบ พระองค์ทรงมีพระประสงค์จะสร้างจักรวรรดิให้ใหญ่เท่าในสมัยราชวงศ์โมริยะ  ราชวงศ์คุปตะมีความเจริญรุ่งเรืองและมีอำนาจมากที่สุดในสมัยพระเจ้าจันทรคุปต์ที่2 (ค.ศ.375-ค.ศ.415) พระเจ้าจักรพรรดิพระองค์นี้ส่วนใหญ่จะรู้จักในนาม"พระเจ้าวิกรมาทิตย์"หรือ"พระเจ้าจันทรคุปต์วิกรมาทิตย์"สมัยของพระแงค์นับว่าเป็นยุคทองของอารยธรรมอินเดีย (Golden  Age  of  India  Civilization)  กล่าวคือ อารยธรรมอินเดียมีความเจริญสูงสุดในทุกด้าน เช่น  ปรัชญา ศาสนาและความเชื่อ  วรรณคดี ศิลปะ  รวมทั้งวิทยาการสาขาต่างๆ
       ด้านการปกครอง  ราชวงศ์คุปตะมีเมืองหลวงอยู่ที่ปาฏลีบุตร  สมัยนี้ได้นำรูปแบบการปกครองสมัยราชวงศ์โมริยะมาใช้ในการปกครองอาจักร คือ ส่งข้าหลวงออกไปปกครองตามแคว้นต่างๆ  อำนาจของกษัตริย์สูงขึ้นทั้งนี้เพราะกษัตริย์มีฐานะเป็นสมมติเทพและเป็นเทพแห่งพิภพ  ซึ่งจะเห็นได้จากศิลาจารึกที่เมืองอัลลาหาบัดที่จารึกว่า พระเจ้าสมุทรคุปต์มีลักษณะเทียบเท่ากับท้าวกุเวร  ท้าววรุณ  พระอินทร์ และพระยม ซึ่งเป็นจตุโลกบาล  ดังนั้นกษัตริย์จึงมีอำนาจเด็ดขาด   สาเหตุที่มีความคิดลักษณะนี้ก็มาจากกษัตริย์ต้องทำหน้าที่ปกป้องอินเดียให้พ้นจากภัยของต่างชาติ  ดังนั้นจึงพยายามจัดการปกครองภายในประเทศให้มั่นคง  เพื่อเตรียมพร้อมป้องกันการรุกรานจากศัตรูภายนอก
      ส่วนการขยายอาณาเขต โดยเฉพาะในสมัยพระเจ้าจันทรคุปต์ที่ 1  ทรงใช้นโยบายการแต่งงานเป็นการแสวงหาอำนาจ  กล่าวคือ  พระองค์ทรงอภิเษกกับพระธิดาแห่งแคว้นลิจฉวีซึ่งมีอำนาจมากในขณะนั้น  และในสมัยพระเจ้าจันทรคุปต์ที่ 2  ก็เช่นกัน  พระองค์ทรงขยายอาณาเขตด้วยการอภิเษกกับพระธิดาของกษัตริย์วากาฎะกัส(Vakatakas) ซึ่งปกครองมัธยมประเทศ  ขณะเดียวกันก็ทรงใช้นโยบายการรุกรานด้วยเช่นกัน  โดยพระเจ้าจันทรคุปต์ที่ 2  ได้ส่งกองทัพปราบปรามแคว้นเบงกอลและมณฑลของสกะทางตะวันตก ทำให้ทรงขยายอาณาจักรออกไปอย่างกว้างขวาง  โดยทางเหนือขยายไปจนถึงเทือกเขาหิมาลัยเลยไปจนถึงแถบดินแดนลุ่มแม่น้ำนราทา
          ด้านสังคม  หลักฐานของชาวต่างชาติที่เดินทางไปในอินเดียในยุคนี้ คือ หลวงจีนฟาเหียน (Fahien)ซึ่งท่านจาริกแแกจากจีนในปี ค.ศ.399 อยู่ในอินเดียเป็นเวลา 6 ปี (ค.ศ.405-ค.ศ.411)ในรัชสมัยของพระเจ้าจันทรคุปต์ที่ 2 ท่านได้เขียนพรรณนาความเจริญของอินเดียว่าพลเมืองร่ำรวยมีความสุข  ตามเมืองต่างๆ มีสุขศาลาหลายแห่ง สร้างโรงทาน มีการแจกอาหาร เครื่องดื่ม และยาให้แก่คนยากจนโดยไม่คิดเงิน ไม่มีคนดื่มสุรา และยาเสพติด ไม่บริโภคเนื้อสัตว์  การลงโทษทางอาญาไม่ใช้วิธีการลงโทษทางกายแต่จะลงโทษโดยการปรับเป็นเงินแทน และในระยะนี้สังคมได้ฟื้นฟูอารยธรรมของฮินดูที่เสื่อมโทรมมาตั้งแต่สมัยราชวงศ์โมริยะขึ้นมาอีกครั้ง
         สำหรับสถานะของสตรีในวรรณะสูงยังมีบทบาทอยู่มาก ในบางเขตสตรีมีบทบาทเด่นในด้านการปกครองและในบางเขตสตรีดำรงตำแหน่งข้าหลวงมณฑล
   

วันพฤหัสบดีที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ความเจริญของอารยธรรมชนเผ่าเซมิติค



กลุ่มอารยธรรมชนเผ่าเซมิติค  ที่เข้ามาสร้างความเจริญในบริเวณดินแดนเมโสโปเตเมียที่สำคัญ  ได้แก่
         1.ชาวอัคคาเดียน   เป็นพวกเร่ร่อนเผ่าเซมิติคพวกแรกที่เข้ามาในเขตเมโสโปเตเมีย  เมื่อประมาณ 2400  ปีก่อนคริสต์ศักราช  ภายใต้การนำของพระเจ้าซาร์กอนที่ 1 (Sargon)  โดยเข้ายกทัพเข้ารุกรานและยึดครองนครรัฐทั้งหลายของชาวสุเมเรียนและขยายดินแดนไปจนถึงฝั่งตะวันออกของทะเลเมติเตอร์เรเนียน  ชาวอัคคาเดียนได้สถาปนาจักวรรดิอัลคาเดียนขึ้น  ซึ่งนับได้ว่าเป็นจักวรรดิแห่งแรกของโลกที่ปรากฏในประวัติศาสตร์และนับเป็นพื้นฐานในการตั้งจักวรรดิของมนุษย์ในยุคต่อมา  แต่จักวรรดิดังกล่าวนี้ดำรงอยู่ในชั่วระยะเวลาหนึ่ง  หลังสิ้นรัชกาลพระเจ้าชาร์กอนที่ 1  แล้ว  ชาวสุเมเรียนก้ยึดดินแดนคืนมาได้
               2.ชาวอมอไรต์   เป็นชนเผ่าเซมิติคอีกพวกหนึ่งที่อพยพมาจากทะเลทรายอาราเบีย  โดยได้ยกกำลังเข้ายึดครองนครรัฐของชาวสุเมเรียนและขยายดินแดนออกไปอย่างกว้างขวางเมื่อประมาณ 1750 ก่อนคริสตกาล  โดยมีผู้นำที่เข้มแข็งทรงพระนามว่า  ฮัมมูราบี  (Hammurabi)  ซึ่งต่อมาได้สถาปนาจักวรรดิบาบิโรเนียขึ้น  โดยมีนครบาบิโลน  (Babylon)  เป็นศูนย์กลางของจักวรรดิ
                จักพรรดิฮัมมูราบีทรงเป็นนักปกครองและนักบริหารที่ยอดเยี่ยมได้ทรงคิดค้นเครื่องมือที่จะช่วยสร้างความเป็นระเบียบและความยุติธรรมให้แก่ดินแดนทั่วทั้งจักวรรดิ  เครื่องมือดังกล่าวนั้น  คือกฏหมายที่เขียนเป็นลายลักอักษร  วึ่งประมวลขึ้นจากจารีตประเพณีของพวกสุเมเรียนเดิมตลอดจนธรรมเนียมปฏิบัติของชนเผ่าเซมิติค  เรียกว่า  ประมวลกฏหมายฮัมบูราบี  (the Code of Hammurabi)  มีข้อบัญญัติต่างๆ  รวมทั้งสิ้นเกือบ  300  ข้อ   จารึกอยู่บนแท่งหินสีดำสูงประมาณ 8 ฟุต  จารึกด้วยตัวอักษรคิวนิฟอร์ม  ประมวลกฏหมายนี้ใช้หลักความคิดแบบแก้แค้นและตอบโต้อย่างตรงไปตรงมาที่เรียกว่า  "ตาต่อตาฟันต่อฟัน"  นอกจากนี้ยังว่าด้วยเรื่องต่างๆ  ในการปฏิบัติต่อกันของคนในสังคม  เช่น  เรื่องการค้าขายและประกอบอาชีพ  เรื่องทรัพย์สินที่ดิน  เรื่องการกินอยู่ระหว่างสามีภรรยาและการหย่าร้าง  เป็นต้น  ประมวลกฏหมายฉบับนี้นับว่าเป็นหลักฐานทางวัฒนธรรมของมนุษย์ในความพยายามที่จะจัดระเบียบภายในสังคมที่มีคนเข้ามาอยู่รวมกันแล้ว  นำระเบียบดังกล่าวเขียนลงไว้อย่างชัดเจน  ประมวลกฏหมายฮัมมูราบีจึงเป็นประมวลกฏหมายที่เก่าแก่ที่สุดซึ่งเหลือตกค้างมาจนถึงสมัยปัจจุบัน
จารึกประมวลกฏหมายฮัมมูราบี
                  จักวรรดิบาบิโลเนียนได้เจริญรุ่งเรืองอย่างมากในสมัยจักวรรดิฮัมมูราบี  แต่หลังสมัยของพระองค์อาณาจักรที่เป็นปึกแผ่นอยู่เป็นเวลาเกือบหกร้อยปีค่อยๆเสื่อมลงจนในที่สุดถูกพวกชาวแคสไซต์ (Kassites)  เข้ามายึดครอง  ชาวแคสไซต์เป็นพวกอารยชนซึ่งไม่มีความสนใจในวัฒธรรมใดๆทั้งสิ้น  วัฒนธรรมเก่าแก่ของดินแดนแถบนี้เกือบจะต้องสลายไปอย่างสิ้นเชิง  ถ้าไม่มีชนเผ่าเซมิติคอีกพวกหนึ่งที่ตั้งถิ่นฐานในบริเวณภาคเหนือบนลุ่มแม่น้ำไทกริส  และชนกลุ่มนี้ได้มีการขยายอิทธิพลเรื่อยๆ  จนสามารถพิชิตพวกแคสไซต์ได้  ชนเผ่าเซมิติคดังกล่าวนี้คือชาวอัสซีเรียน
  3.ชาวอัสซีเรียน   เป็นชนเผ่าเซเมติคอีกพวหนึ่งในระยะแรกได้เริ่มตั้งถิ่นฐานและสร้างสรรค์อารยธรรมในบริเวณภาคเหนือของลุ่มแม่น้ำไทกริส  ประมาณ 1300 ปี  ก่อนคริสตกาล  ชาวอัสซีเรียนเริ่มทำการชยายอาณาเขต  และในไม่ช้าก็มีอำนาจครอบคลุมทางเหนือของหุบเขาทั้งหมด  ในศตวรรษที่ 10 ก่อนคริสตกาล  ชาวอัสซีเรียนได้โค่นอำนาจของพวกแคสไซต์ลงได้และสถาปนาจักวรรดิอัสซีเรียขึ้น  ชาวอัสซีเรียนได้ขึ้นชื่อว่า  เป็นพวกที่มีชื่อเสียงในความเก่งกล้าสามารถในการรบและความดึร้าย  ทำให้สามารถแผ่ขยายจักวรรดิออกไปอย่างกว้างขวางนับเป็นจักวรรดิแห่งแรกที่เจริญขึ้นในยุคเหล็ก  โดยได้ทิ้งินุสรณ์แห่งความโหดร้าย  ทารุณและความยิ่งใหญ่ไว้ในภาพแกะสลักนูนต่ำอันเป็นศิลปะวัตถุที่ยังคงอยู่มาจนถึงวันนี้  ซึ่งจักพรรดิที่ทรงอนุภาพคือ  แอสซูร์บานิปาล  ได้โปรดให้รวบรวมแผ่นดินเผาซึ่งบรรจุข้อเขียนด้วยตัวอักษรคิวนิฟอร์มไว้ในหอสมุดใหม่ที่กรุงนิเนอเวร์  ซึ่งเป็นศูนย์กลางของจักวรรดิ
           4.ชาวคาลเดียน  เป็นชนเผ่าเซมิติคสาขาหนึ่งที่พิชิตจักรวรรดิอัสซีเรียได้สำเร็จ  และได้สถาปนานครบาบิโลนขึ้นเป็นเมืองหลวงอีกครั้งหนึ่ง  ชาวคาลเดียนได้เรียกชื่อจักรวรรดิใหม่นี้ว่า  บาบิโลนเนียใหม่
              ชาวคาลเดียนมีความเชื่อว่า  แต่เดิมดาวเคราะห์มีเพียง 5 ดวง  ได้แก่ ดาวพุทธ ดาวศุกร์  ดาวอังคาร  ดาวพฤหัสและดาวเสาร์  ซึ่งถือว่าเป็นพลังอันศักดิ์สิทธิ์ของมนุษย์  เมื่อรวมกับดวงอาทิตย์และดวงจันทร์เป็น 7 ดวง  ก็จะเป็นเทพเจ้าผู้ยิ่งใหญ่ 7 องค์  ซึ่งวิชาการด้านดาราศาสตร์ของชาวคาลเดียนได้แพร่ไปยังชาวตะวันตกในเวลาต่อมา  ดังจะเห็นได้จากการตั้งชื่อวันก็ตั้งตามชื่อของดวงดาวบนท้องฟ้า  นอกจากนี้ชาวคาลเดียนสามารถหาเวลาที่ดวงจันทร์หมุนรอบโลกเวลาเกิดสุริยุปราคาและจันทรุปราคา  รวมทั้งคำนวณความยาวของปีทั้งหมดได้อย่างแม่นยำ  ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ของกรีกได้นำผลงานของชาวคาลเดียนมาใช้ในภายหลัง

          ในยุคอารยธรรมของจักพรรดิเนบูคัดเนสซาร์ทรงครองราชย์อยู่ระหว่างปี 604-561  ก่อนคริสตกาล  พระองค์ทรงเป็นกษัตริย์ที่ชอบความหรูหราฟุ่มเฟื่อยโปรดให้ฟื้นฟูบูรณะนครบาบิโลนขึ้นใหม่  และตกแต่งระเบียบพระราชวังด้วยการปลูกต้นไม้ขึ้น  เพื่อให้คลุมหลังคาพระราชวังอย่างหนาแน่น  หลังคาที่ปลูกต้นไม้นี้เรียกว่า  สวนลอยแห่งบาบิโลน  วึ่งชาวกรีกนับเป็นสิ่งมหัสจรรย์ 1 ใน 7 ของโลกที่มีผู้กล่าวถึงในยุคปัจจุบัน

วันอังคารที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

อารยธรรมสุเมเรียน


               ชนชาติสุเมเรียน  (Sumerian)  เป็นชนชาติแรกที่สร้างความเจริญขึ้นในบริเวณเมโสโปเตเมีย  ซึ่งเชื่อกันว่า  ชาวสุเมเรี่ยนได้อพยพมาจากที่ราบสูงอิหร่าน  และได้มาตั้งถิ่นฐานอยู่ในบริเวณตอนล่างสุดของลุ่มแม่น้ำไทกริสและยูเฟรติสตรงส่วนที่ติดกับอ่าวเปอร์เซีย  โดยเรียกบริเวณนี้ว่า  ซูเมอร์ (Sumer)  นักประวัติศาสตร์ถือว่า ซูเมอร์ คือ แหล่งกำเนิดของนครรัฐ (city-state) แห่งแรกของโลก  
             การตั้งถิ้นฐานเริ่มแรกของชาวสุเมเรียนนั้นเป็นเพียงหมูบ้านกสิกรรม  ต่อมาเมื่อรวมกันและได้มีการสร้างชลประทานขึ้น  ทำให้หมูบ้านได้รวมเป็นศูนย์กลางการปกครองในลักษณะของเมือง  เมืองที่สำคัญได้แก่  อิเรค (Erech) อิริดู (Eridu) เออร์  (Ur)  ลาร์ซา (Larsa)  ลากาซ (Lagash) อุมมา (Umma) นิปเปอร์ (Nippur) คิช (Kish)  เป็นต้น  เมืองต่างๆเหล่านี้มีฐานะเป็นศูนย์กลางของการปกครองที่ไม่ขึ้นต่อกันที่เรียกว่า  "นครรัฐ"  โดยแต่ละนครรัฐดูแลความเป็นอยู่ของคนในนครรัฐของตย

ความเจริญของอารยธรรมสุเมเรียน
                1.การปกครองในรูปแบบของนครรัฐ  ชีวิตความเป็นอยู่ของชาวสุเมเรียนเริ่มแรกจากชีวิตแบบหมูบ้านเล็กๆ  ต่อมาจึงเปลี่ยนมาเป็นชีวิตในเมืองที่มีการปกครองในรูปแบบนครรัฐ  ระยะแรก  ชาวสุเมเรียนมีพระเป็นผู้ดูแลและควบคุมกิจการต่างๆในนครรัฐ  พระจะมีอำนาจในการปกครองแผ่นดินและเป็นประมุขสูงสุด  เรียกว่า  ปะเตชี (Patesi)  ทำการปกครองในนามของพระเป็นเจ้า  ทำหน้าที่ควบคุมตั้งแต่การเก็บภาษี  ได้แก่  ข้าวปลาอาหาร  ตลอดจนควบคุมการดูแลเกี่ยวกับการชลประทานและการทำไล่ไถนา  ต่อมาเมื่อเกิดการแข่งขันและรบพุ่งระหว่างนครรัฐ  อำนาจการปกครองจึงมาอยู่ที่นักรบหรือกษัตริย์แทน  กษัตริย์จะมีตำแหน่งเรียกว่า  ลูกาล (Lugal)  ซึ่งเป็นผู้เข้มแข็งสามารถสู้รบป้องกันนครรัฐ  และทำหน้าที่ควบคุมดูแลกิจกรรมต่างๆแทนพระ   การปกครองแบบนครรัฐของชาวสุเมเรียนดังกล่าวนี้  นับได้ว่าเป็นนครรัฐแห่งแรกของโลก  และยังมีอิทธิพลอย่างมากต่อการตั้งถิ่นฐานของอารยธรรมบาบิโลเนีย  อารยธรรมอัสซีเรียน อารยธรรมอิหร่าน  รวมทั้งอารยธรรมใกล้เคียงอย่างอียิปต์ด้วย
                       3,500 ปี ก่อนคริสตกาล  พวกสุเมเรียนได้สร้างอารยธรรมของตน  เมืองที่ก่อตัวขึ้นในเขตซูเมอร์ระยะนี้ได้แก่เมืองออร์  เมืองริเรค  เมืองอิริดู  เมืองลากาซ  และเมืองนิปเปอร์  เมืองเหล่านี้เป็นศูนย์กลางของระบบชลประทาน  โดยก่อตัวขึ้นได้สำเร็จเพราะประสิทธิภาพของระบบการจัดการน้ำ  เช่น  การเก็บกักและการระบายน้ำ  เมืองมีฐานะเป็นอิสระและเป็นศูนย์กลางของการปกครองที่ไม่ขึ้นตรงกันเรียกว่า  นครรัฐ


                 2.ด้านชลประทาน  ชาวสุเมเรียนเป็นชนชาติแรกที่ได้สร้างระบบชลประทานที่มีประสิทธิภาพสูง  ทั้งนี้เนื่องจากถิ่นฐานที่ชาวสุเมเรียนรุ่นแรกได้สร้างล้านเรือนนั้น  ทั่วทั้งแผ่นดินปกคลุมด้วยบริเวณพื้นดินที่อุดมสมบูรณ์  อันเกิดจากการทับถมของโคลนตมที่แม่น้ำพัดมา  พท้นดินดังกล่าวเหมาะแก่การเพาะปลูกพืชผลทางเกษตรแต่ที่ยากลำบากคือ  ปัญหาเรื่องน้ำ  เพราะบริเวณเมโสโปเตเมียเกือบจะเรียกได้ว่าฝนไม่ตกเลย  ทำให้พื้นที่ที่อยู่ห่างจากแม่น้ำ  เป็นที่แห้งแล้งไม่เหมาะสมแก่การทำเพาะปลูก  ในขณะเดียวกันน้ำจะเอ่อขึ้นท่วมฝั่งทุกปี  ทำให้บริเวณที่อยู่ใกล้ริมฝั่งแม่น้ำชุ่มชื้น  แฉะ  น้ำขังเป็นเหมือนบึง  ปัญหาจึงอยู่ที่ว่าพื้นที่บางแห่งชื้นแฉะเกินไป  บางแห่งแห้งแล้งเกินไป  ซึ่งชาวสุเมเรียนที่เข้ามาในระยะแรกได้เห็นปัญหาดังกล่าว  เมื่อพวกเขาได้ตัดสินใจตั้งรกรากในบริเวณนี้ก็จะต้องหาทางเอาชนะธรรมชาติ  ด้วยการเปลี่ยนแปลงธรรมชาติเพื่อให้ประโยชน์ในการดำรงชีวิตของตนมากที่สุด   กล่าวคือในขั้นแรกชาวสุเมเรียนได้สร้างนบใหญ่ขึ้นสองฝากฝั่งแม่น้ำยูเฟรติส  สร้างคลองระบายน้ำ  เขื่อนกั้นน้ำ  ประตูน้ำ  และอ่างเก็บน้ำ  เพื่อระบายน้ำออกไปให้ได้ไกลที่สุด  และเพื่อเก็บกักน้ำไว้ใช้ยามที่ต้องการ  วิธีการควบคุมน้ำและจัดระเบียบน้ำดังกล่าวคือระบบชลประทานครั้งแรกของโลก  ที่ชาวสุเมเรียนได้เป็นกลุ่มแรกที่ใช้งานระบบนี้
                  3.ด้านการเพาะปลูก   อารยธรรมสุเมเรียนมีความก้าวหน้ามาก  มีการใช้คันไถเทียมด้วยวัว    ทำให้สามารถหว่านไถได้เป็นวริเวณกว้างกว่าเดิม  ลำพังแต่การใช้จอบหรือเสียม  การเพาะปลูกเหมือนกับการทำสวนครัวในบ้าน  การประดิษฐ์คันไถเทียมด้วยวัวมีความสำคัญในแง่ที่ว่ามนุษย์เริ่มรู้จักใช้และควบคุมที่มาของพลังงาน  คือพลังงานของสัตว์นอกเหนือไปจากพลังงานที่มาจากตัวของมนุษย์เอง  นอกจากนี้ชาวสุเมเรียนยังประดิษฐ์เครื่องมือทางเกษตรดั้งเดิม  เช่น  เครื่องหยอดเมล็ดพืชซึ่งปัจจุบันก็ยังใช้กันอยู่ในบางแห่งของโลก  เครื่องหยอดเมล็ดพืชทำงานโดยกรุยพื้นดินให้เป็นร่องก่อน  ต่อจากนั้นค่อยๆ หยอดเมล็ดพืชลงในร่องโดยผ่านทางกรวยเล็กๆ  เมื่อเมล็ดพืชลงไปอยู่ในดินแล้ว  คนบังคับเครื่องมือจะเดินย่ำกลบเป็นอันเสร็จกรรมวิธีหยอดเมล็ด  ชาวสุเมเรียนนอกจากจะประสบความสำเร็จในการเพาะปลูกแล้ว  หลักฐานทางโบราณคดียังบ่งชี้ว่าพวกสุเมเรียนนิยมเลี้ยงสัตว์  โดยมีการทำนมเนย  เนย  และผ้าขนสัตว์เป็นต้น
                 4.การเขียนตัวหนังสือ  อารยธรรมสุเมเรียนเป็นชนชาติแรกในดินแดนเมโสโปเตเมียที่รู้จักการเขียนหนังสือ  การเขียนตัวหนังสือของชาวสุเมเรียนจะใช้ไม้เสี้ยนปลายให้แหลมหรือใช้กระดูทำปลายให้มีลักษณะคล้ายรูปลิ่มกดลงบนแผ่นดินเหนียวที่ยังอ่อนอยู่ทำให้เกิดเป็นรอย  แล้วนำไปตากแดดให้แห้งหรือเผาไฟตัวอักษรชนิดนี้เรียกว่าตัวอักษรคูนิฟอร์ม (Cuneiform) หรือตัวอักษรรูปลิ่ม  และใช้ตัวอักษรนี้เขียนข้อความต่างๆ  ซึ่งมีอิทธิพลต่อการเขียนตัวอักษรของกรีกและโรมันในสมัยต่อมา
                5.วรรณกรรม   ด้วยความสำเร็จในระบบการเขียนทำให้ชาวสุเมเรียนสามารถสร้างวรรณกรรมที่สำคัญเรื่องแรกของโลก  วึ่งรู้จักอย่างกว้างขวางและมีขนาดยาวที่ชื่อว่า  มหากาพย์กิลกาเมช (Gilgamehsepic) เขียนบนแผ่นดินเผาขนาดใหญ่  12 แผ่น  รวมด้วยกันทั้งสิ้น  3000 บรรทัด
                  6.ด้านคณิตศาสตร์   ชาวสุเมเรียนเป็นพวกแรกที่คิดค้นวิธีการคิดเลข  ทั้งการลบ  การบวก  และการคูณ  ชาวสุเมเรียนนิยมใช้หลัก  60  และหลักนี้เองถูกนำมาใช้ในเรื่องการนับเวลาต่อมาจนถึงปัจจุบัน  รวมทั้งการแบ่งวงกลมออกเป็น  360 องศา (6 x 60) ด้วย
                 7.การสร้างระบบชั่งตวงวัดและปฏิทิน   ชาวสุเมเรียนรู้จักการใช้ระบบการชั่ง  ตวง  วัด  เป็นอย่างดี  มาตราชั่ง  ตวง  วัด  ของชาวสุเมเรียนแบ่งเป็น   เชคเคิล  (shekel)  มีน่า  (Mina)  และทาเลน  (talent)  โดยใช้หลัก 60 คือ 60 เชคเคิล เป็น 1 มีน่า ,  60 มีน่า เป็น 1 ทาเลน  สำหรับการสร้างปฏิทิน  พระชาวสุเมเรียนได้คิดค้นหลักใหญ่ของปฏิทินขึ้นเป็นครั้งแรก  ทั้งนี้โดยอาศัยการเฝ้าสังเกตการโคจรของดวงจันทร์  ปฏิทินของชาวสุเมเรียนเป็นปฏิทินแบบจันทรคติ  ปีหนึ่งมี  12 เดือน  เดือนหนึ่งมี 29 1/2 วัน  ปีของชาวสุเมเรียนจึงมีเพียง  354  วัน  วึ่งคลาดเคลื่อนกับปีตามแบบสุริยคติซึ่งมี 365 1/4 วัน  เดือนของชาวสุเมเรียนแบ่งออกเป็น 4 สัปดาห์  สัปดาห์ละ 7 - 8 วัน  วันหนึ่งแบ่งออกเป็นกลางวัน 6 ชั่วโมง และกลางคืน 6 ชั่วโมง  (1 ชั่วโมงเทียบเท่า 2 ชั่วโมงในปัจจุบัน)
ซิกกูแรต สมัยอาะยธรรมมุเมเรียน


                     8.ด้านสถาปัตยกรรม   ชาวสุเมเรียนได้ชื่อว่าเป็นผู้ริเริ่มการใช้อิฐในการก่อสร้างอย่างกว้างขวาง  โดยมีการทำอิฐขึ้นจากดินเหนียว  วึ่งมีอยู่มากมายโดยการใช้แทนหินวึ่งเป็นของหายาก  อิฐของสุเมเรียนมี 2 ประเภท  คือ  ประเภทตากแห้ง และประเภทอบความร้อนหรือเผาไฟชนิดแรกจะไม่ทนความชื้น  ใช้ในการก่อสร้างอาคารส่วนที่ไม่กระทบต่อความชื้นแฉะ  อิฐชนิดอบความร้อนหรือเผาจะทนความชื้นได้ดี  ใช้ก่อส่วนล่างของอาคาร  เช่น  ยกพื้นฐานรากและกำแพงเป็นต้น  การพัฒนาอิฐจนมีคุณภาพดี  ทำให้ชาวสุเมเรียนได้สร้างนครรัฐของตนขึ้น  โดยสร้างกำแพงอิฐขึ้นล้อมรอบบริเวณที่เป็นส่วนที่สำคัญที่สุดของนครรัฐ  ได้แก่  บริเวณที่เป็นวัดหรือที่ศักดิ์สิทธิ์  อันเป็นที่ประทับของพระเป็นเจ้า  ตรงมุมด้านหนึ่งของบริเวณอันศักดิ์สิทธิ์มีสิ่งก่อสร้างที่มีรูปร่างคล้ายๆ  พีระมิดของอียิปต์  เรียกว่า  ซิกกูแรต (Ziggurat)  หรือ  "หอคอยระฟ้า"  สร้างเป็นหอสูง  ขนาดใหญ่  ลดหลั่นเป็น 3 ระดับ  ยอดบนสุดเป็นวิหารเทพเจ้าสูงสุดประจำนครรัฐ  เบื้องล่างถัดจาก "หอคอยระฟ้า"  ลงมาเป็นที่ตั้งของวัดวาอาราม  พระราชวังของกษัตริย์  สุสานหลวง  ที่ทำการตามความนึกคิดของพวกสุเมเรียน  ชาวสุเมเรียนบูชาเทพเจ้าหลายองค์  และแต่ละนครรัญจะมีพระเป็นเจ้า  ผู้เป็นองค์อุปถัมภ์นครรัฐนั้น  โดยเฉพาะประทับอยู่ ณ วัดใหญ่ที่เรียกว่า  ซิกกูแรต  ประชาชนมีหน้าที่ดุแลทำนุบำรุงวัดในรูปของภาษีหรือเครื่องพลีซึ่งนำมาถวายวัดผ่านทางพระหรือนักบวชผู้มีหน้าที่ดูแล

วันศุกร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2555

การรับอารยธรรมจากภายนอก

              ดินแดนตะวันออกเฉียงใต้มีการติดต่อแลกเปลี่ยนอารธรรมกับภายในมาช้านาน  ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์  อย่างไรก็ตาม  หากพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานทางด้านโบราณคดีในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  การติดต่อแลกเปลี่ยนอารธรรมกับภายนอกในดินแดนดังกล่าวเกิดขึ้นประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 2-3  อารธรรมที่เข้ามามีบทบาทในตะวันออกเฉียงใต้  มีดังนี้

1.อารธรรมอินเดีย
              การติดต่อระหว่างเมืองท่าตามฝั่งทะเลตะวันตกของตะวันออกเฉียงใต้กับอินเดียอาจมีมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์  ซึ่งการติดต่อนั้นมีทั้งคนอินเดียเดินทางมายังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  และในทำนองเดียวกันคนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก้เดินทางไปยังอินเดียเช่นกัน  การติดต่อระหว่างคนสองอารธรรมได้ดำเนินเรื่อยๆมาจนกระทั่งคริสต์ศตวรรษที่ 2-3  คนสองดินแดนนี้มีการติดต่อกันมากขึ้น โดยพบหลักฐานทางด้านวรรณคดี  คือ ศิลาจารึกภาษาสันสกฤต  และพระพุทธรูปศิลปะอมราวดีทางตอนใต้ของประเทศอินเดีย  การรับอารธรรมอินเดียในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  เป็นไปอย่างช้าๆ  แต่ฝังรากลึกลงในดินแดนแถบนี้จนกระทั่งปัจจุบัน
               หลักฐานที่แสดงให้เห็นถึงการติดต่อระหว่างอินเดียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  มีทั้งจากหลักฐานที่พบภายในดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และหลักฐานจากภายนอก  ดังนี้
                1.หลักฐานภายใน  ที่เป็นลายลักษณ์อักษรมีหลักฐานที่เป็นจารึกเกี่ยวกับอาณาจักรฟูนันศรีเกษตร  ทวารวดี  เรื่อยไปจนถึงอาณาจักต่างๆ  ในแหลมมลายู  จารึกเหล่านี้ส่วนใหญ่เขียนเป็นภาาาสันสกฤต  ด้วยตัวอักษาสมัยราชวงศ์ปัลลวะ  ซึ่งมีอายุอยู่ในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 4 นอกจากนี้ยังพบอิทธิพลของตัวอักษาสมัยก่อนนาครีจากแคว้นเบงกอลทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย  แพร่เข้ามาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  ในช่วง ค.ศ.707-807 ด้วย
                  2.หลักฐานภายนอก  มีดังนี้
                              (1) หลักฐานอินเดีย  วรรณคดีของอินเดีย  และชาดกในพุทธศาสนา  รวมถึงนิทานของอินเดียสมัยโบราณ  มีการกล่าวถึงชื่อที่มีนัยยะหมายถึงดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  เช่น  วรรณคดีเรื่องรามายณะ  กล่าวถึง "ยวทวีป"  ซึ่งหมายถึง  เกาะเงินเกาะทอง  นักวิชาการสันนิษฐานว่า  "ยวทวีป"  คือ เกาะชวาและสุมาตรา  นอกจากนี้ในคัมภีร์อรรถศาสตร์  ได้มีการกล่าวถึง  เรื่องราวการอพยพชาวอินเดียวไปยังดินแดนแห่งใหม่  และดินแดนแห่งนั้นสันนิษฐานว่า  คือ  เอเชียตะวันออกเฉียงใต้  ข้อมูลนี้ดูจะสอดคล้องกับหลักฐานประเภทเรื่องเล่าพื้นบ้านของอาณาจักรขอมโบราณที่กล่าวว่า  พราหมณ์อินเดียได้เดินทางทางทะเล  และมาตั้งถิ่นฐานในบริเวณที่สันนิษฐานว่าเป็นอาณาจักรฟูนัน
                                (2) หลักฐานจีน  จดหมายจีนได้เล่าเรื่องราวที่แสดงถึงการติดต่อระหว่างอินเดียวกับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  ซึ่งกล่าวว่า  มีพราหมณ์ชื่อโกฑินยะ  ได้เดินทางมายังดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในราวคริสต์ศตวรรษที่ 1-2 และแต่งงานกับหญิงชาวพื้นเมือง
                                 (3) หลักฐานโรมัน  เช่นหนังสือเรื่อง  ภิมิศาสตร์ วึ่งเขียนเมื่อประมาณ ค.ศ. 165 ของปโตเลมี   (Ptolemy) ในหนังสือแสดงให้เห็นลักษณะเด่นๆ  ของผืนแผ่นดินใหญ่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้อย่างชัดเจน
                 

2.อารธรรมจีน
             หลักฐานเอกสารของจีนได้ให้ข้อมูลว่า  ชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีการติดต่อกับชาวจีนอย่างช้าที่สุดก็ในคริสต์ศตวรรษที่ 1-2 ซึ่งเป็นเวลาใกล้เคียงกับการที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ติดต่อกับอินเดีย  แม้เอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะได้ติดต่อกับจีนในเวลาที่ใกล้เคียงกับอินเดียก็ตาม  แต่ดูเหมือนว่าการแพร่กระจายของอารธรรมจากจีนจำกัดกว่าอารธรรมอินเดีย  ประเด็นนี้  หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ  ทรงชี้แจงให้เหตุผลไว้ว่า  อาจจะเนื่องจากว่าประเทศจีนแผ่อารธรรมไปพร้อมกับการชนายอำนาจ  อีกทั้งต้องการให้ชนชาติในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รับรองอำนาจอันยิ่งใหญ่ของตนด้วยการส่งบรรณาการไปถวายจักรพรรดิจีน  ดังนั้นอารธรรมจีนที่แผ่เข้ามาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จีงอยู่ในวงจำกัด
                     อารธรรมจีนที่แพร่เข้ามาในเอเชียตะวันออกนั้นดูเหมือนจะมีอิทธิพลในอาณาจักรลินยี่  ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของอาณาจักรจัมปา (ในดินแดนเวียดนามปัจจุบัน)  เนื่องจากอาณาจักรลินยี่มีการติดต่อกับจีนมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์แล้ว

3.อารธรรมอิหร่าน
               อารธรรมอิหร่านเจริญรุ่งเรืองขึ้นในบริเวณดินแดนของประเทศอิหร่านในปัจจุบัน  ชาวเปอร์เซียเข้ามาค้าขายในดินแดนเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มาเป็นระยะเวลานานกว่าพันปี  ทั้งนี้นักวิชาการบางคนเชื่อว่าชาวอิหร่านเข้ามาแถบนี้อย่างช้าก้คริสต?ศตวรรษที่ 7 เมื่อพิจารณาจากหลักฐานทางภาษา  พบว่า  ข้อความในจารึกที่ 1  จารึกพ่อขุนรามคำแหง  มีคำว่า  ตลาดปสาน  ซึ่งสันนิษฐานว่า  มาจากคำในภาษาอิหร่านว่า บาซาร์  หลักฐานจากจารึกดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงอารธรรมอิหร่านที่แพร่เข้ามาในดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
                         

วันพุธที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2555

อารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ

      อารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุเป็นอารยธรรมที่ถือกำเนิดขึ้นบริเวณลุ่มแม่น้ำสินธุในประเทศอินเดียและปากิสถานในปัจจุบัน  โดยถือว่าอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุเป็นอารยธรรมยุคแรกๆของโลก  กล่าวคือ  เป็นอารยธรรมตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ต่อเนื่องใสจนถึงสมัยประวัติศาสตร์  สันนิษฐานว่าน่าจะมีอายุช่วงประมาณ 4000 -2500 ปีก่อนคริสตกาล  ซึ่งจากหลักฐานทางโบราณคดีปรากฏให้เห็นว่า  อินเดียมีความเจริญมาอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะในบริเวณเนินเขาในบาลูจิสถานตอนใต้


             เมื่อประมาณต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 ได้มีการสำรวจขุดค้นตามโบราณสถานของอินเดียหลายแห่ง  โดยมี เซอร์จอร์น มาร์แชล นักโบราณคดีชาวอังกฤษ  เป็นหัวหน้าคณะในการสำรวจและได้ขุดพบเมืองโบราณที่เมืองฮารัปปา  ในแคว้นปัญจาบทางตะวันตกและเมืองโมเห็นจาดาโร  ในแคว้นซินด์  (ปัจุบันอยู่ในประเทศปากิสถาน)  เมืองทั้งสองอยู่ห่างกันประมาณ  350 ไมล์  เมืองเหล่านี้จัดเป็นสมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์อินเดีย  เพราะพบจารึกจำนวนมากแต่ยังไม่มีผู้ใดสามารถอ่านออก  เมืองโบราณทั้งสองเป็นประจักษ์พยานที่สำคัญที่แสดงให้เห็นถึงความเจริญของชนเผ่าที่เคยอาศัยอยู่ในบริเวณลุ่มแม่น้ำสินธุ  คือพวก ดราวิเดียน  ซึ่งเป็นชาวพื้นเมืองเดิมของอินเดีย

เมืองโมเห็นจาดาโร
           ลักษณะสิ่งก่อสร้างของอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ
            
                       อารยธรรม สินธุเกิดขึ้นเมื่อพวกดราวิเดียนได้เข้ามาตั้งถิ่นฐานอย่างมั่นคงในบริเวณลุ่มแม่น้ำสินธุ  ซึ่งจุดเด่นของอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุอยู่ที่การก่อสร้างและการวางผังเมืองอย่าเป็นระบบ  เป็นการแสดงให้เห็นถึงภูมิปัญญาและความสามารถของคนดราวิเดียนเป็นอย่างดี
                       สิ่งก่อสร้างและลักษณะการวางผังเมืองของเมืองฮารัปปาและเมืองโมเห็นจาดาโร  พบว่ามีการแบ่งเขตภายในเมืองออกเป็นสัดส่วนอย่างชัดเจน  กล่าวคือ  มีการจัดที่ตั้งอาคารสำคัญๆไว้อย่างเป็นหมวดหมู่    โดยอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุจะมีการก่อสร้างอาคารที่มีฐานแข็งแรงโดยสร้างด้วยอิฐโบกปูน  สิ่งก่อสร้างที่เป็นบ้านพักอาสัยจะเป็นรูปสี่เหลี่ยม  มีการเจาะหน้าต่างและห้องที่มีประตูออกสู่ลานหน้าบ้านได้  ลักษณะเด่นอีกประการของบ้านยุคนี้คือ  ทุกบ้านสร้างบ่อน้ำ  มีห้องน้ำและมีท่อน้ำและท่อระบายน้ำโสโครกออกไปนอกบ้านเพื่อเชื่อมกับท่อระบายน้ำโสโครกขนาดใหญ่
                      
           การดำเนินชีวิตของประชากร

                       ประชากรที่อาศับอยู่ในบริเวณลุ่มแม่น้ำสินธุส่วนใหญ่มีอาชีพเป็นกสกรรม  เลี้ยงสัตว์  และการผลิตเครื่องใช้ประเภทต่างๆ  นิยมปลูกพืช  เช่นข้าวบาร์เลย์  ข้าวสาลี  หมาก  อินทผลัม  โดยชาวสินธุนิยมบริโภคข้าวสาลีเป็นอาหารหลัก  นอกจากนี้ยังมีการเลี้ยงสัตว์ไว้บริโภค เช่น แกะ หมู ปลา ไก่ ส่วนสัตว์เลี้ยงที่นิยมเลี้ยงไว้ใช้งาน  เช่นวัว ควาย แกะ  ช้าง  และอูฐ  นอกจากนี้  แล้วยังมีการประกอบอาชีพค้าขาย  โดยพบหลักฐานจากซากเมืองโบราณถึงการมีร้านเล็กๆ  ริมสองฟากถนน  และยังพบบ้านที่พักอาศัยหลายหลังที่มีขนาดกว้างขวางใหญ่แตกต่างกว่าหลังอื่นๆ  วึ่งสันนิษฐานว่าคงเป็นบ้านของบรรดาพ่อค้าที่มีความมั่งคั่ง
                      ด้านการผลิตเครื่องใช้ประเภทต่างๆ พบว่า  อารยธรรมของชาวสินธุรู้จักการทำเครื่องปั้นดินเผาที่เขียนลวดลายสีดำบนพื้นสีแดง  เครื่องปั้นดินเผาชนิดนี้พบมากในบริเวณลุ่มแม่น้ำสินธุ  ตลอดไปจนถึงลุ่มแม่น้ำคงคา  ขณะเดียวกันยังพบร่องรอยความเจริญจากเครื่องมือเครื่องใช้ที่ทำด้วยหินและสำริด  นอกจากนี้ยังพบเครื่องปั่นฝ้าย  แสดงให้เห็นว่ายุคนี้  รู้จักการปั่นฝ้าย  และรู้จักการทอผ้าขึ้นใช้เอง  ซึ่งการแต่งกายของชาวสินธุเป็นแบบง่ายๆ  ด้วยผ้าฝ้ายและหนังสัตว์นำมาห่อหุ้มร่างกาย  โดยชายและหญิงแต่งกายด้วยผ้า 2 ชิ้น  ท่อนล่างเป็นผ้านุ่งแบบโธติ  มีเชือกคาดเอว  ท่อนบนปิดไหล่ขวา  มีการใช้เครื่องประดับ  เช่น  กำไล  แหวน  เครื่องประดับจมูก  ต่างหูและสายสร้อยคอที่ทำจากกระดูกสัตว์และโลหะ  เช่น เงินและทอง  เป็นต้น

           ความเชื่่อ

                      หลักฐานที่ค้นพบจากเมืองโบราณทั้ง 2 แห่ง  เช่น  รูปปั้นดินเผาและรูปสลักต่างๆ  ซึ่งส่วนใหญ่เป็นรูปเจ้าแม่  ทำให้สันนิษฐานได้ว่า  ชาวสินธุนับถือเทพเจ้าหลายองค์  ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเทพสตรีหรือเทพมารดา (Mother Goddess) เช่น  แม่พระธรณี  ซึ่งเป็น "เทพแห่งแผ่นดิน"  เทพเจ้าแห่งความอุดมสมบูรณ์  เป็นเทพที่ทำให้แผ่นดินมีความสุขและร่มเย็น  โดยพบรูปเคารพของเทพเจ้าที่เป็นเทพสตรี  เปลือยท่อนบนใส่เครื่องประดับศีรษะและสใมแต่เข็มขัดรอบๆสะโพก  รูปปั้นลักษณะดังกล่าวพบเป็นจำนวนมากในหลายท้องที่  นอกจากเทพสตรีแล้ว  ชาวสินธุยังนับถือเทพเจ้าที่เป็นเพศชายอีกหลายองค์  ซึ่งสันนิษฐานได้จากการพบเหรียญตรา  ซึ่งมีรูปมนุษย์เพศชายนั่งท่าขัดสมาธิรอบล้อมไปด้วยสัตว์ต่างๆ  เช่น  ช้าง เสือ แรด ควาย  สันนิษฐานว่าอาจเป็นต้นกำเนิดของพระศิวะในศาสนาฮินดู  นอกจากนี้ยังค้นพบดวงตาซึ่งทำมาจากหินอ่อนจำนวนมาก  บนดวงตาสลักรูปสัตว์ชนิดต่างๆ  โดยเฉพาะวัว  ทำให้สันนิษฐานได้ว่า  ความเชื่อในศาสนาของชาวสินธุอาจมีความเกี่ยวพันกับธรรมชาติ  การนับถือภูติผีปีศาจและเทพเจ้าที่สิงสถิตอยู่ในธรรมชาติ  เช่น  ต้นไม้  ลำธาร  ภูเขา  ฝน  ลม  และน้ำ  เป็นต้น
                    ขณะเดียวกันยังพบว่า  อารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุมีการติดต่อสัมพันธ์กับอารยธรรมเมโสโปเตเมีย  เนื่องจากคนในลุ่มแม่น้ำสินธุได้มีการติดต่อกับคนในเมโสโปเตเมีย  ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนของคนทั้ง 2 อารยธรรมกล่าวคือได้พบเครื่องปั้นดินเผาที่มีลักษณะคล้ายกับที่พบในบริเวณลุ่มแม่น้ำสินธุในบริเวณลุ่มแม่น้ำไทกริสและยูเฟรติสเป็นการแสดงให้เห็นว่าได้มีการนำเครื่องปั้นดินเผาที่ประดิษฐ์ขึ้นในบริเวณลุ่มแม่น้ำสินธุไปแลกเปลี่ยนกับคนในลุ่มแม่น้ำไทกริสและยูเฟรติส  และยังได้นำสิ่งของจากลุ่มแม่น้ำไทกริสและยูเฟรติสเข้ามาในแถบแม่น้ำสินธุ  เช่น  เครื่องประดับ  ดวงตราที่เป็นรูปทรงกระบอกและรูปสี่เหลี่ยม  ที่มีลวดลายเป็นรูปคนและสัตว์  และมีการจารึกที่ยังตีความหมายไม่ได้อีกด้วย
                   ต่อมาเมื่อประมาณ 1500 ปีก่อนคริสตกาล  อารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุเริ่มเสื่อมลง  ซึ่งจากการขุดค้นทางด้านโบราณคดีทำให้สันนิษฐานว่า  ความเสื่อมของอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุอาจเนื่องจากถูกภัยธรรมชาติ  เช่น  น้ำท่วมหรือโรคระบาด  ทั้งนี้เพราะจากการขุดพบกองกระดูกของมนุษย์จำนวนมากที่ทับถมกัน  ขณะเดียวกันยังเป็นช่วงเวลาที่พวกอารยันได้ค่อยๆ  แพร่จากภาคเหนือไปทางตะวันออกและลงไปทางใต้อย่างช้าๆ  เข้าไปรุกรานทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของอินเดียและขับไล่พวกดราวิเดียนถอยร่นไปทางทิศตะวันออกแถบลุ่มแม่น้ำคงคา  ซึ่งบางกลุ่มได้ปะปนทางสายโลหิตกับพวกดราวิเดียนจนทำให้เกิดกลุ่มชนกลุ่มใหม่ที่เรียกว่า  พวกฮินดู
                    

วันอาทิตย์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2555

อารยธรรมยุคต่างๆโลกตะวันออก


อารยธรรมของยุคหินเก่าโลกตะวันออก

             อารยธรรมยุคหินเก่าของโลกตะวันออกซึ่งคือทวีปเอเชีย  เกิดขึ้นเมื่อประมาณ 500000 - 10000 ปีล่วงมาแล้ว  มนุษย์ในยุคนี้มีชีวิตเร่ร่อนไปตามแหล่งอาหารยังไม่รู้จักการตั้งถิ่นฐานที่แน่นอน  บางกลุ่มก้อาศัยอยู่ตามถ้ำและใต้หน้าผา  ดำรงชีวิตโดยการล่าสัตว์  เก็บพืชผัก  ผลไม้จากป่า  เครื่องมือเครื่องใช้และอาวุธทำมาจากหินที่เก็บในบริเวณภูเขานำมาขัดแบบหยาบๆ  เพื่อใช้ในการล่าสัตว์และหาอาหาร  และยังพบร่องรอยว่ายังมีการเริ่มใช้ไฟด้วย
            หลักฐานการดำรงอยู่ของมนุษย์ในโลกตะวันออกพบในหลายท้องที่  เช่น  พบโครงกระดูกของมนุษย์หยวนโหม่ว (Yuanmou man) ทางบริเวณมณฑลยูนนาน  สันนิษฐานว่ามีอายุประมาณ  1700000 ปี ล่วงมาแล้ว  และพบมนุษย์กรุงปักกิ่ง (Peking man)  สันนิษฐานว่า  มีอายุราว 400000 ปีก่อนคริสตกาล  ซึ่งเป็นบรรพบุรุษของชาวจีนปัจจุบัน
            

อารยธรรมของยุคหินกลางโลกตะวันออก

             อารยธรรมของยุคหินกลางของโลกตะวันออก  เกิดขึ้นเมื่อประมาณ 10000 - 4000 ปีล่วงมาแล้ว  เครื่องมือ เครื่องใช้ยังคงเป็นหิน  แต่มีความคม  แข็งแรง  มีขนาดเล็กกว่า  มีการกระเทาะคมหินทั้งสองด้านสำหรับใช้งาน  และมีฝีมือประณีตกว่าสมัยหินเก่า  อาวุธที่ขุดพบได้แก่ธนูที่ปลายธนูทำด้วยหินที่เหลาให้แหลม  มนุษย์ยุคนี้อาศัยอยู่ในถ้ำและเพิงผาใกล้ห้วยแม่น้ำลำธาร  ดำรงชีวิตด้วยการล่าสัตว์แต่ยังไม่รู้วิธีการเลี้ยงสัตว์  และยังคงเก็บของป่าเป็นอาหาร  แต่ในบางภูมิภาค  เช่น  ดินเดียเิร่มรู้จักการเพาะปลูก  ได้แก่  ข้าว  ถั้ว  แตงกวา มะเขือ  ผักกาด  ฯลฯ  นอกจากนี้ยังได้มีการนำเอากระดูกสัตว์ ก้างปลาและเปลือกหอย  ทำเป็นเครื่องมือเช่น  หัวธนู  หอก  ฉมวก  ขณะเดียวกัน  ยังรู้จักทำเครื่องประดับจากเปลือกหอย  กระดูกสัตว์  เช่น  กำไล  จี้  สร้อยคอ  ตุ้มหู  เป็นต้น
           

อารยธรรมของยุคหินใหม่โลกตะวันออก

             อารยธรรมยุคหินใหม่เกิดขึ้นเมื่อประมาณ 4000 - 2000 ปีล่วงมาแล้ว  มนุษย์สมัยนั้นรู้จักการเพาะปลูกแบบเกษตรกรรม เช่น พบว่ามีการปลูกข้าวเจ้า  และมีการเลี้ยงสัตว์  เช่น หมู ทำให้มนุษย์เริ่มปักหลักอยู่กับที่  มีการสร้างบ้านที่ทำด้วยไม้และไม้ไผ่  มีการประดิษเครื่องปั้นดินเผาที่เป็นลวดลายแบบง่ายๆ  บางชั้นมีการใช้สิเขียนลาย  ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสีแดง  ส่วนเครื่องมือเครื่องใช้ยังคงเป็นหิน  แต่มีการขัดให้เรียบขึ้นเรียกว่า  เครื่องมือหินขัด  เช่น  ขวานหินขัดรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า  และขวานพาดบ่าปลายมล  ในประเทศไทยชาวบ้านเรียกขวานชนิดนี้ว่า  ขวานรามสูรหรือขวานฟ้า  โดยเชื่อว่าเป็นเครื่องลางของขลัง  เป็นเครื่องนำโชคลาภ

วันพุธที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดอารยธรรม


ปัจจัยที่ 1 สภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์
                สถาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์เป็นปัยจัยสำคัญโดยตรงปัจจัยหนึ่งที่ก่อให้เกิดการสร้างสรรค์อารยธรรมของมนุษย์ขึ้น  โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสมัยโบราณ  สังคมสมัยนั้นมีลักษณะเป็นสังคมเกษตรกรรม  ดังนั้นธรรมชาติจึงมีอิทธิพลเหนือชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษย์  จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์  หลายแห่งได้แสดงให้เห็นถึงบทบาทของธรรมชาติว่ามีผลต่อความเจริญของอารยธรรม มนุษย์อย่างมาก  ดังจะเห็นได้ว่าอารยธรรมสำคัญๆที่เกิดขึ้นในสมัยโบราณ  เช่น  อารยธรรมเมโสโปเตเมีย  ตั้งอยู่บนดินแดนอันอุดมสมบูรณ์ในลุ่มแม่น้ำไกริสและยูเฟรติส  อารยธรรมอียิปต์ตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำไนล์  อารยธรรมอินเดียตั้งอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำสินธุ  อารยธรรมจีนตั้งอยู่ราบลุ่มแม่น้ำฮวงโห  อารยธรรมกรีกและอารยธรรมโรมันตั้งอยู่บริเวณริมคาบสมุทร  เป็นต้น  จะเห็นได้ว่าอารยธรรมโบราณดังกล่าวเกิดขึ้นในสภาพทางภูมิศาสตร์ที่มีความเหมาะสม  ซึ่งอาจเป็นวริเวณที่ราบใกล้ภูเขา  ที่ราบลุ่มแม่น้ำ  หรือบริเวณที่ที่มีความเหมาะสมกับการเพาะปลูก  โดยการเลือกตั้งถิ่นฐานในบริเวณที่เหมาะสมนี้จะช่วยให้ชุมชนนั้นเกิดการพัฒนาจนถึงขั้นมีการสร้างบ้านแปงเมืองขึ้นได้
              นอกจากนี้นักภูมิศาสตร์ชาวอมเริกันชื่อ ดร.เอลล์สเวอร์ธ ฮันตินตัน  (Dr.Ellsworth Huntinton) ได้นำทฏษฏีภูมิศาสตร์  มาอธิบายว่า  สภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์เป็นปัยจัยที่ช่วยเสริมสร้างอารยธรรมได้อย่างไร  โดยได้สนับสนุนความเชื่อดั้งเดิมของนักแราชญ์ในสมัยโบราญ  คือ อริสโตเติล  ที่ว่าปัยจัยอื่นอาจมีความสำคัญเหมือนกันในการสร้างอารยธรรม  แต่ไม่ว่าชาติใด  ไม่ว่าจะสมัยปัจจุบันหรือสมัยโบราณก็จะไม่สามารถสร้างสมวัฒนธรรมของตนได้สูงสุด  ถ้าปราศจากสิ่งแวดล้อมที่ดี  นั่นหมายถึงต้องมีสภาพภูมิอากาศที่เหมาะสม  ขณะเดียวกันยังกล่าวอีกว่า  อุณหภูมิที่เหมาะสมในการตั้งถิ่นฐาน  จะต้องไม่อยู่ในเขตอากาศแปรปวน  เช่น  ในเขตพายุหมุน  อากาศมักจะเปลี่ยนแปลงเสมอ  เขตที่อากาศร้อนเกินไป  หนาวเกินไป  หรือแห้งแล้งเกินไป  จะมีคนเข้าไปอาศัยอยู่น้อย  เช่น  ในบริเวณอาร์กติก  บริเวณทะเลทราย  ป่าดิบอินเดีย  อเมริกากลาง  และบราซิล เป็นต้น
              ดังนั้นปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์  จึงเป็นปัจจัยสำคัญโดยตรงปัจจัยหนึ่งที่ก่อให้เกิดการสร้างสรรค์อารยธรรมของมนุษย์ขึ้น

ปัจจัยที่ 2 ระบบการเมืองการปกครอง
               มนุษย์เมื่อมีการตั้งบ้านเมืองเป็นหลักแหล่งแล้ว  ความจำเป็นในการสร้างอารยธรรมต่อมาคือ  จะต้องมีการจัดการชุมชนที่มีขนาดใหญ่ขึ้น  เช่น  การจัดการระบบชลประทาน  การใช้ที่ดิน  ทำให้ต้องมีหัวหน้าในการออกกฏข้อบังคับ  และระบบการปกครองเพื่อให้เกิดความสงบสุขและความปลอดภัยในสังคม  การปกครองนี้ได้เริ่มขึ้นภายในครอบครัวก่อนแล้วขยายวงกว้างออกไปเป็นครอบครัวต่างๆ  จนกลายเป็นชุมชนขนาดใหญ่  เนื่องจากสังคมที่ซับซ้อนขึ้นทำให้ต้องมีการพัฒนาการปกครองตามการเปลี่ยนแปลงของสังคมจนปัจจุบัน
              มนุษย์ได้พัฒนาระบบการปกครองของแต่ละยุคแต่ละสมัยแตกต่างกันตามสภาพสังคมในแต่ละสมัย  เช่น  มีการพัฒนาจากหัวหน้าครอบครัวเป็นการปกครองระบบพ่อเมือง (Patriachy) ระบบราชาธิปไตย (Monarchy)  และระบบประชาธิปไตย (Democracy)  และในบางสังคมก็เกิดระบบคณาธิปไตย (Oligarchy)  ระบบทรราชย์ (Tyrany)  ระบบเผด็จการ  (Dictatorship) หรือเกิดลัทธิการเมือง  เช่น ลัทธิฟาสซิสม์ (Fascism)  ลัทธินาชี (Nazism) และลัทธิคอมมิวนิสต์ (Communism) เป็นต้น

ปัจจัยที่ 3 ความเจริญทางเทคโนโลยี
               ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีเป็นปัจจัยสำคัญอีกประการหนึ่งที่มีผลต่อการสร้างอารยธรรมของมนุษย์  โดยในแต่ละยุคแต่ละสมัยมักจะมีการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง  ซึ่งการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีก้เท่ากับว่า  เป็นการเปลี่ยนแปลงอารยธรรมในแต่ละยุคแต่ละสมัยด้วยเช่นกัน
              เทคโนโลยีเป็นปัจจัยสำคับที่ก่อให้เกิดอารยธรรมของมนุษย์  กล่าวคือ  ในยุคก่อนประวัติศาสตร์  เทคโนโลยีของมนุษย์ยังคงเป็นแบบง่ายๆ   แต่ภายหลังเมื่อมีการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆขึ้น  ซึ่งเทคโนโลยีแบบใหม่นี้มักเกิดขึ้นจากที่มนุษย์พยายามที่จะเอาชนะธรรมชาติ  เพื่อสามารถที่จะดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างสมบุรณ์  ดังนั้นมนุษย์จึงพยายามขวนขวายหาวิธีที่จะอยู่ร่วมกับธรรมชาติหรือบางแห่งต้องหาวิธีเอาชนะธรรมชาติในทุกด้าน  ความพยายามทั้งสองประการนี้ก่อให้เกิดการแสวงหาความรู้เกี่ยวกับธรรมชาติ  เชน  เทคโนโลยีในด้านเกษตร  ซึ่งในบางท้องที่เกิดน้ำท่วม  เกิดความแห้งแล้ง  ก็ต้องมีการพัฒนาระบบชลประทานเพื่อประโยชน์ในการเกษตรและการประมง  บางท้องที่ต้องเรียนรู้วิธีการนำเหล็กมาใช้เพื่อทำคันไถและทำอาวุธ  หรือตัดไม้เพื่อบุกเบิกพื้นที่ทางการเกษตรหรือช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร  นอกจากนี้ในท้องที่ที่เป็นทะเลทราย  มนุษย์ยังสามารถปรับปรุงที่ดิน  ให้สามารถใช้ประโยชน์ในการเกษตรได้  ส่วนด้านการประมง  แรกเริ่มมนุษย์ใช้กระดูกสัตว์ทำคันเบ็ด  ต่อมาก้เริ่มพัฒนาเครื่องมือจับสัตว์  เช่น  แห อวน และเรือ  เป็นต้น  ขณะที่เทคโนโลยีทางด้านขนส่งและการคมนาคม   เริ่มแรกมนุษย์รู้จักการใช้ม้าเป็นพาหนะวึ่งนับได้ว่าเป็นก้าวสำคัญของการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีได้อย่างชัดเจน  และทำให้เมืองในอดีตได้ขยายตัวและมีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมอย่างมากตามความก้าวหน้าของเทคโนโลยี  นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการก่อสร้าง  เทคโนโลยีด้านอาวุธ  เทคโนโลยีด้านเครื่องมือเครื่องใช้  เทคโนโลยีสาธารณสุข ฯลฯ
                จะเห็นได้ว่าเทคโนโลยีที่ได้พัฒนาขึ้นในยุคต่างๆ  เป็นปัจจัยที่มีความสำคัญต่อพัฒนาการความเจริญและการสร้างสรรค์อารยธรรมของมนุษย์

ปัจจัยที่ 4 การเจริญเติบโตของสังคัมและการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม
                มนุษย์เมื่อมีการรวมตัวเป็นชุมชน  โดยการรวมตัวขั้นแรกอาจเป็นเพียงหมู่บ้านหรือเมืองขนาดเล็ก  ภายหลังจึงขยายเป็นชุมชนขนาดใหญ่  วึ่งการรวมตัวกันของมนุษย์นั้นนอกจากเพื่อให้มนุษย์สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้แล้ว  ยังทำให้มนุษย์สามารถประดิษฐ์สิ่งต่างๆขั้นได้อีกด้วย  ที่สำคัญเมื่อมนุษย์เริ่มรู้จักการใช้ไฟ  ทำให้มนุษย์เริ่มมีเวลาเพิ่มมากขึ้น  กล่าวคือก่อนที่จะรู้จักการใช้ไฟมนุษย์จะทำงานเฉพาะเวลากลางวัน  พอกลางคืนก็ไม่สามารถทำอะไรได้อีกเนื่องจากไม่มีแสงสว่าง  แต่เมื่อมนุษย์รู้จักการใช้ไฟทำให้มนุษย์สามารถทำงานเพิ่มขึ้นในตอนกลางคืน  โดยที่กลางวันยังคงทำไร่ ทำนาและเลี้ยงสัตว์  พอกลางคืนก้เริ่มมีงานประดิษฐ์งานฝีมือต่างๆ เช่นทอผ้า  ทำเครื่องมือเครื่องใช้  และที่สำคัญทำให้เกิดการพัฒนาความคิดต่างๆขึ้น
               การรวมตัวกันของมนุษย์ยังก่อให้เกิดความสัมพันธ์ทางสังคม  กล่าวคือช่วยทำให้มนุษย์เกิดความรับผิดชอบร่วมกันในด้านสาธารณประโยชน์  เช่น  การช่วยกันดูแลระบบชลประทาน  การช่วยป้องกันตนเอง  ก่อให้เกิดการแบ่งแยกแรงงานและเกิดกลุ่มอาชีพเฉพาะขึ้นในสังคม  เช่น  ชาวนา  ชาวไร่  ช่างประเภทต่างๆ  พ่อค้า  เจ้าพนักงาน  นักรบ  นักบวช  ตลอดจนทาสและกรรมการ ฯลฯ  การที่มนุษย์เริ่มมีการรวมตัวเป็นสังคมในลักษณะนี้จำเป็นต้องมีการจัดระเบียบขึ้นในกลุ่มเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อมนุษย์ที่อยู่รวมกันภายในกลุ่มของตน  นอกจากนี้ยังมีการออกกฏหมายเพื่อตัดสินคดี  มีการเลือกผู้นำ  มีการสร้างสถาบันต่างๆ ขึ้นมาเพื่อสะดวกในการปกครอง  มีการวางแผนจัดการในเรื่องต่างๆเหล่านี้ล้วนก่อให้เกิดความเจริญขึ้นในสังคมอารยธรรมของมนุษย์

ปัจจัยที่ 5 การชยายตัวทางเศรษฐกิจ
               การขยายตัวทางเศรษฐกิจเกิดจากความต้องการปัจจัยสี่ของมนุษย์  ซึ่งก้คืออาหาร  เครื่องนุ่งห่ม  ที่อยู่อาศัย  และยารักษาโรค  ความจำเป็นเหล่านี้เป็นแรงผลักดันให้มนุษย์ต้องขวนขวายแสวงหาปัจจัยเหล่านี้จากทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่  มนุษย์ต้องต่อสู้กับธรรมชาติ  ต้องฝึกสัตว์ป่าให้เชื่องเพื่อนำมาใช้งาน  ต้องปลูกพืชไว้เพื่อบริโภค  โดยมนุษย์ต้องต่อสู้กับสิ่งต่างๆ  ก็เพื่อสนองความต้องการที่เรียกว่าปัจจัยสี่นั่นเอง  แต่ต่อมาเมื่อความต้องการภายในครอบครัวขยายขึ้น  ทำให้มนุษย์ต้องแสวงหาสิ่งต่างๆ เพิ่มขึ้นตามไปด้วย  กล่าวคือ  เมื่อมนุษย์พ้นสภาพของการล่าสัตว์  เริ่มตั้งถิ่นฐานอยู่กับที่  เริ่มมีประชากรมาอาศัยอยู่รวมกันมากขึ้น  มีการเปลี่ยนแปลงแรงงานที่ชัดเจน  สิ่งเหล่านี้ทำให้ความต้องการปัจจัยสี่ของมนุษย์มีเพิ่มมากขึ้น  ทำให้มนุษย์มีความจำเป็นต้องมีการแลกเปลี่ยนแาหารและผลิตภัณฑ์ต่างๆ  ตลอดจนการจัดให้มีบริการในรูปแบบต่างๆ  ซึ่งทำให้เกิดศูนย์กลางเพื่อดำเนินกิจกรรมดังกล่าว  เรียกว่า "ตลาด" เพื่อเป็นศูนย์กลางในการแลกเปลี่ยนสิ่งของ  และเมื่อการแลกเปลี่ยนมีจำนวนมากขึ้นจึงเกิดการคิดมูลค่าของสิ่งของเป็นจำนวนเงินที่เป็นตัวเลขอย่างมีระบบขึ้นมา  โดยการซื้อขายแลกเปลี่ยนนี้ทำให้การเมืองในเวลานี้มีบทบาทในฐานะเป้นศูนย์กลางที่ขยายตัวไปพร้อมๆกับการขยายตัวทางเศรษฐกิจ
              นอกจากนี้เมืองต่างๆที่เกิดขึ้นใหม่ตามเส้นทางการค้าหรือชุมชนทางการค้ายังได้กลายเป็นแหล่งอารยธรรมแห่งใหม่ เช่น  เมืองเวนิช  เจนัว  ปิซา เป็นต้น  และจากการที่เมืองดังกล่าวเป็นเมืองที่มีการค้าขายข้ามแดนในระดับภูมิภาคนั้นได้นำมาซึ่งการติดต่อค้าขายระหว่างแปล่งต่างๆ ที่มีความแตกต่างกันทางอารยธรรม  จึงเป็นเหตุให้อารยธรรมจากดินแดนต่างๆ  มีโอกาสในการแลกเปลี่ยนหรือแผ่ขยายอารยธรรมตนไปยังดินแดนอื่นๆ

ปัจจัยที่ 6 ความเชื่่อและศาสนา
                ความต้องการพื้นฐานของมนุษย์มีหลายด้าน  นอกจากความต้องการภายนอกในด้านต่างๆ  ที่กล่าวมาแล้ว  มนุษย์ยังคงต้องการความมั่นคงทางจิตใจ  เพื่อจะได้ดำเนินชีวิตอย่างมีความสุขและอยู่รอดปลอดภัย  มนุษย์จึงจำเป็นต้องแสวงหาความผูกพันกับอำนาจเหนือธรรมชาติ  หรือสิ่งที่ปราศจากตัวตนที่มนุษย์สัมผัสไม่ได้  แต่เชื่อว่าสามารถปกป้องคุ้มครองตนเองได้  การแสดงออกในการแสวงหาความมั่นคงทางจิตใจนี้มีลักษณะต่างกันตั้งแต่สมัยโบราณถึงสมัยปัจจุบัน  วึ่งในช่วงเวลาอันยาวนานที่ผ่านมา  มนุษย์ค้นพบว่า  ศาสนาและความเชื่อเป็นแนวทางที่จะนำไปสู่ความมั่นคงทางจิตใจ ดังนั้น  ศาสนาจึงเป็นผลของความต้องการทางจิตใจ  การแสดงออกซึ่งความคิด  และความเชื่อของมนุษย์
               ขณะเดียวกันมนุษย์จะมีความอ่อนแอในตนเอง  ทำให้ศาสนาและความเชื่อเป็นสิ่งที่สนองความต้องการที่มนุษย์จะขาดเสียมิได้  มนุษย์ต้องการที่พึ่ง  ต้องการเครื่องยึดเหนี่ยวเพื่อให้ชีวิตมั่นคง  เมื่อมนุษย์เห็นความมหัศจรรย์ของธรรมชาติก็พยายามแสวงหาเหตุผลที่ก่อให้เกิดปรากฏการณ์เหล่านั้น เมื่อได้คำตอบที่ตนพอใจ  ก้มักจะยึดถือเชื่อมั่น  ในขั้นแรกนี้อาจเป็นความเชื่อส่วนบุคคล  ต่อมาเมื่อผู้อื่นเห็นว่าดีก้นำมาปฏิบัติเป็นหลักการเดียวกันมากขึ้นจนเกิดเป็นลัทธิศาสนา  มีกฏข้อบังคับ  พิธีกรรม  เกิดประเพณีต่างๆ ขึ้นมา  เช่น  เกิดการบูชาเทพเจ้า  บทสวดสถาที่บูชาเทพเจ้า  เกิดพิธีกรรมต่างๆ  เกิดเครื่องมือเครื่องใช้ที่เกี่ยวข้องกับการประกอบพิธี  และเกิดงานศิลปะที่เกี่ยวกับเทพเจ้าที่นับถือเพื่อเป็นการบูชาและแสดงความเคารพในสิ่งที่มนุษย์จิตนาการขึ้น  โดยแสดงวามรู้สึกนึกคิดของตนออกมาในลักษณะรูปธรรมต่างๆ  เช่น  ศิลปกรรม  สถาปัตยกรรม  วรรณคดี  และดนตรี  นอกจากนี้ยังเป็นเครื่องยึดเหนื่ยวจิตใจของมนุษย์ให้หลุดพ้นจากความกลัว

วันอังคารที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2555

การแบ่งยุคของอารยธรรมมนุษย์


อารยธรรมมนุษย์มีการพัฒนาการมาอย่างต่อเนื่อง  กล่าวคือ เริ่มต้นจากสมัยที่มนุษย์มีชีวิตเร่ร่อน  หาอาหารที่มีอยู่ตามธรรมชาติ  ต่อมาเริ่มมีการเรียนรู้การทำภาชนะถ้วยชาม  เป็นการเข้าสู่สมัยที่เริ่มลงหลักปักฐานอยู่กับที่  อาศัยอยู่ในกระท่อมที่ก่อสร้างด้วยดินอย่างหยาบๆ  ดำรงชีวิตด้วยการล่าสัตว์  และเริ่มรู้จักการนุ่งห่มร่างกายด้วยหนังสัตว์  ต่อมาเมื่อมนุษย์เริ่มจากการนุ่งห่มร่างกายด้วยหนังสัตว์  เริ่มรู้จักการสื่อสารด้วยภาษา  ด้วยสัญญาณเสียง  เริ่มประดิษฐ์ตัวอักษร  เริ่มมีบ้านเป็นที่เป็นหลักเป็นแหล่งมั่นคง  และมีการรวมตัวกันเป้นสังคมเมือง  ในที่สุดสร้างอารยธรรมขึ้นมาได้  ซึ่งพัฒนาการของอารยธรรมมนุษย์ตั้งแต่กล่าวมานี้  สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ยุค คือ
     
           1.สมัยก่อนประวัติศาสตร์ (Pre-historic Age)
                   หมายถึง  ช่วงเวลาสมัยที่มนุษย์ยังไม่รู้จักการบันทึกเรื่องราวต่างๆไว้เป็นรายลักษณ์อักษร  หรือยังไม่มีการจดบันทึกเป็น "ภาษาเขียน" ชนิดที่คนปัจจุบันอ่านหรือสามารถถอดความหมายออกมาได้  สมัยก่อนประวัติศาสตร์นี้ครอบครุมระยะเวลาตั้งแต่ช่วงที่เกิดมนุษย์ขึ้นในโลกนี้ถึงช่วงที่คนเริ่มมาการจดบันทึกเรื่องราวต่างๆของตนเอง  หรือในระยะเริ่มต้นของสมัยประวัติศาสตร์นั่นเอง  โดยสามารถแบ่งสมัยก่อนประวัติศาสตร์  ออกได้เป็น 4 ยุค  คือ  หินเก่า หินกลาง หินใหม่ และยุคโลหะ  ความเจริญของมนุษย์สมัยประวัติศาสตร์  จะมีทั้งในโลกตะวันออกและโลกตะวันตก
     
           2.สมัยประวัติศาสตร์  (Historic Age)
                    หมายถึง  สมัยที่มนุษย์รู้จักการคิดค้นประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้นใช้เป็นลายลักษณ์อักษร  ซึ่งตัวอักษรที่ประดิษฐ์ขึ้นใช้นี้อาจมีลักษณะแตกต่างจากตัวอักษรที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน  แต่ตัวอักษรนี้จะต้องสามารถถอดความหมายออกมาได้  โดยการเริ่มต้นสมัยประวัติศาสตร์ในดินแดนต่างๆของโลก  จะมีวิวัฒนาการแต่กต่างกันดังนั้นการเริ่มมีการประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้นใช้ในแต่ละแห่งจึงเกิดขึ้นไม่พร้อมกัน  ทำให้การสิ้นสุดของสมัยก่อนประวัติศาสตร์และการเริ่มต้นของวสมัยประวัติศาสตร์ในดินแดนต่างๆของโลกแตกต่างกันตามไปด้วย  โดยในช่วงเวลาที่มีการใช้โลหะ  โดยเฉพาะทองแดงและสำริดในบางท้องที่สันนิษฐานว่า  ได้มีการประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้นใช้แล้ว  และได้มีการขีดเขียนเรื่องราวบางอย่างไว้เป็นรายลักษณ์อักษร  การค้นพบวิธีการเขียนตัวอักษรยังช่วยให้เกิดประโยชน์ทั้งด้านเศรษฐกิจและการปกครอง  โดยจะช่วยให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพและยังช่วยในการจัดระเบียบ  การสั่งงาน  และการควบคุมคนได้อย่างมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้นอีกด้วย  นอกจากนั้นการจดบันทึกเรื่องราวต่างๆ  ยังเป็นพื้นฐานที่สำคัญในการสร้างเสริมอารยธรรมของคนรุ่นต่อมาอีกด้วย

ความหมายและการแบ่งยุคของอารยธรรมมนุษย์

อารยธรรมต่างๆ

ความหมายของอารยธรรม

        
            คำว่า "อารยธรรม" เป็นคำที่มีความหมายตรงกับคำในภาษาอังกฤษว่า "Civlization" มีรากศัพท์มาจากภาษาละติน คือ Civitis หมายถึง City หรือ นคร  โดยเหตุผลที่ใช้คำนี้เนื่องจากแหล่งอารยธรรมใหญ่ๆในโลก  ส่วนใหญ่มักจะเกิดขึ้นในนครใหญ่  คำว่า "อารยธรรม"  เป็นคำที่มีความหมายหลายประการตามความเข้าใจและการตีความของแต่ละคน  แต่โดยทั่วไป  มักจะให้ความหมายของ "อารยธรรม" ว่าหมายถึง  ความเจริญงอกงามในทุกๆด้าน  ของสังคมทุกๆสังคม  ไม่เฉพาะเจาะจงว่าต้องเป็นสังคมใดสังคมหนึ่ง  นอกจากนี้  อารยธรรมยังมีความหมายที่หลากหลายจากแง่มุมต่างๆ  ที่น่าสนใจอีกหลายความหมายที่สำคัญ  คือ
           
            พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542      ได้ให้ความหมายของอารยธรรม ไว้ว่า  ความสงบสุขของสังคมที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานแห่งศีลธรรมและกฏหมาย  ความเจริญเนื่องด้วยองค์การของสังคม  เช่น  การเมือง กฏหมาย  เศษฐกิจ  โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุตสาหกรรม  ความเจริญด้วยขนบธรรมเนียมอันดี  ขณะที่ ม.ร.ว.ศึกฤทธิ์  ปราโมช  ได้  ให้ความหมายของอารยธรรม ว่า  ความเจริญในทางวัตถุและทางจิตใจของมนุษย์  เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นภายหลังวัฒนธรรมขั้นพื้นฐาน  อารยธรรมที่เป็นความเจริญทางด้านวัตถุและจิตใจนี้เกิดขึ้นในรัฐหรือประเทศ  มีสถาบันการปกครอง  สถาบันศาสนา และสถาบันอื่นๆ  ในกรณีมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ยังไม่มีสถาบันเหล่านี้อย่างเป็นระบบ  จึงไม่มีอารยธรรม 
           
             ส่วนนักวิชาการต่างชาติได้ให้ความหมายของคำว่า "อารยธรรม"  ไว้อย่างหลากหลาย  เช่น เอ็ดเวอร์ดแมค  คัดเบอร์นส์  (Edward Mc. Cudberns)  ได้อธิบายความหมายไว้ว่า  เป็นวัฒนธรรมขั้นสูง  คือ   วัฒนธรรมที่จะเรียกว่าเป็นอารยธรรมได้ก็ต่อเมื่อวัฒนธรรมนั้นได้มีการพัฒนาให้เสริญถึงขั้นสูงสุดแล้ว  หรือกล่าวง่ายๆคือ  สังคมนั้นต้องมีการใช้อักษรบันทึกเรื่องราวต่างๆแล้ว  นอกจากนี้  วัฒนธรรมในด้านอื่นๆของสังคมก็ต้องได้รับการปรับปรุงให้สมบูรณ์และมีประสิทธิภาพอีกด้วย  เช่น  ศิลปวิทยาการ  การเมือง  การปกครอง  สถาบันทางสังคม  และทางเศรษฐกิจ  เป็นต้น  ส่วน อาร์โนลด์ เจ ทอยน์บี (Arnold J. Taynbee)  ได้อธิบายไว้ว่า  อารยธรรม คือวัฬนธรรมดั้งเดิมที่ได้รับการพัฒนาขึ้นมาเรื่อยๆ  สังคมดั้งเดิมนั้นมีอายุสั้นกว่าวัฒนธรรม  และมักเกิดขึ้นในบริเวณจำกัด  และมีส่วนเกี่ยวข้องกับมนุษย์เป็นจำนวนน้อยกว่าอารยธรรม  แต่ก็มีความก้าวหน้าทางศิลปะและวิทยาศาสตร์  ส่วนสถาบันการเมือง  เศรษฐกิจและสังคมก็ได้รับการพัฒนามาอย่างดีพอที่จะแก้ไขปัญหาต่างๆ  ที่เกิดขึ้นในสังคมนั้นได้


            ดังนั้น อารยธรรม จึงหมายถึง  ความเจริญในด้านต่างๆ ที่ได้รับการพัฒนาขึ้นเรื่อยๆ และเป็นความเจริญที่สูงกว่าวัฒนธรรมขั้นพื้นฐาน

ขับเคลื่อนโดย Blogger.